ตามหลักฐานที่ปรากฎและคำบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่ที่ยังปฎิบัติงานอยู่จนถึงปัจจุบัน
ปรากฎประวัติความเป็นมาของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ดังนี้
-ปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทราคนแรก นายสม ไกรณรงค์ ดำรงตำแหน่งถึงปี
พ.ศ.2499

 
-อาคารสำนักงานที่ทำการแห่งแรกของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา ทำการที่เดียวกับศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทราหลังเก่า เดิมมีชื่อว่าศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีน(ศาลากลาง
จังหวัดหลังเก่า)
ตั้ง อยู่่ที่เลขที่ 122/6 ถนนมรุพงษ์
ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงทเรา
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2520
อาคารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2506
ใช้เป็นศาลาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทราใช้อาคารหลังนี้เป็นที่ทำการตั้งแต่เมื่อไร
ไม่ปรากฎข้อมูลทำการ ณ อาคารนี้จนถึงปี พ.ศ.2523 จนถึงช่วงที่นายพิจิตร
รุ่งเรื่องเป็นปศุสัตว์จังหวัด(ปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา คนที่ 6)


-อาคารที่ทำการแห่งที่ 2 ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทราได้ย้ายที่สำนักงานมาอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา หลังที่ 2 บริเวณมุขด้านตะวันออกของอาคารศาลากลางจังหวัด ชั้น 1 ทำการ ณ แห่งนี้จนถึงปี พ.ศ.2523 ซึ่งสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 2 ในขณะนั้น ได้ก่อสร้างอาคารสำนักงาน บริเวณที่ดินราชพัสดุ ถนนสุขเกษม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทราจึงย้ายที่ทำการมาอยู่ที่เดียวกับ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่2 (เขต 2 เดิม) บริเวณห้องชั้น 1 ด้านขวา เมื่อหันหน้าเข้าตัวอาคาร ปัจจุบันคือห้องส่วนศึกษาและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 2

-อาคารสำนักงานแห่งที่ 3 ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา (หลังปัจจุบัน)
ประมาณปี 2535 -2539 ในช่วงที่นายไชยโย ศิริพานิช เป็นปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา
ได้ดำเนินการผลักดันให้จัดสร้างอาคารสำนักงาน ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยสร้างบนที่ดินราชพัสดุ ในที่ดินแปลงเดียวกับสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 2 ทางด้านซ้ายเมื่อหัวหน้าเข้าหาอาคาร สสอ.ที่2 และได้ทำการให้บริการประชาชนในพื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทราเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมีฝ่ายทั้งหมด 3 ฝ่าย ดังนี้ 1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป 2. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมฯ มีตำแหน่งผู้ช่วยปศุสัตว์จังหวัดโดยตำแหน่ง 3. ฝ่ายสุขภาพสัตว์ เมื่อประมาณปี 2547 ที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าชนิดต่างๆและความปลอดภัยของผู้บริโภค กรมปศุสัตว์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่งจัดตั้งกลุ่มงานเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลรับผิดชอบเรื่อง มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ คือ กลุ่มพัฒนาสินค้าปศุสัตว์ และเมื่อปี 2555 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มงาน ยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์เพิ่มอีก 1 กลุ่มงาน เพื่อเป็นกลุ่มงานที่วางแผนยุทธศาสตร์กำหนดทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงาน

ปัจจุบันสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทราจึงมีกลุ่มงานทั้งหมด 5 กลุ่ม-ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2. กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์ (หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ เป็นผู้ช่วยปศุสัตว์จังหวัดโดยตำแหน่ง)
3. กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
4. กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
5. กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์)

เหตุการณ์ที่สำคัญ 1. ปี 2535-2539 นายไชยโย ศิริพานิช ปศุสัตว์จังหวัดในขณะนั้น ได้ผลักดันให้สร้างอาคารสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา ในที่ราชพัสดุแปลงเดียวกับ อาคารสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 2 ซึ่ง อาคารสำนักงานสร้างเสร็จในปี 2535 ใช้ทำการมาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาประมาณ 20 ปี


2. ช่วงปี 2540 -2549

 

-ในช่วงระยะเวลานี้ นายวิโรจน์  ประยูรวิวัฒน์
ได้กลับมาดำรงตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ ปีพ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน


-ในช่วงปี พ.ศ. 2535-2539
นายวิโรจน์  ประยูรวิวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดคนปัจจุบัน ได้ดำรงตำแหน่งปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราด้วย โดยประจำอยู่ 2 อำเภอด้วยกัน คือ 1. กิ่งอำเภอคลองเขื่อน(ปัจจุบันคือ อำเภอคลองเขื่อน) 2. อำเภอบางปะกง ก่อนจะย้ายไปปฎิบัติราชการในตำแหน่งที่สูงขึ้น ในพื้นที่จังหวัดอื่น - มีเหตุการณ์สำคัญ คือ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องมลภาวะ โดยเฉพาะมลภาวะน้ำเสีย โดยมีนโยบายควบคุมมลภาวะน้ำเสีย ในพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ รวมทั้ง ลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยในปีแรกของโครงการ ให้การสนับสนุน ในปีต่อมารัฐบาลออกค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการฟาร์มปศุสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการ 100% จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงต้องทำงานกันอย่างหนัก เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกรมปศุสัตว์ในขณะนั้น ให้สำเร็จตามเป้าหมาย - โรคไข้หวัดนกระบาดในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างหนัก เพื่อทำลายสัตว์ปีกที่ติดเชื่อโรคไข้หวัดนก พ่นยาฆ่าเชื้อป้องกันการระบาดเพิ่ม และ จ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรในกรณีทำลายสัตว์ปีกที่เลี้ยง จนสถานการณ์โรคสงบ ทำลายสัตว์ปีกไป กว่า 12 ล้านตัว
3. ช่วงปี 2550 - ปัจจุบัน - มีเหตุการณ์สำคัญคือ น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ทำให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงเกษตรกรและสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก นายวิโรจน์ ประยูรวิวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา(คนปัจจุบัน)และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ได้ดำเนินการช่วยเหลือ เกษตรกร และสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มกำลัง โดยประสานงานกับหน่วยงานกรมปศุสัตว์ เพื่อขอหญ้าแห้งมาให้สัตว์เลี้ยงในพื้นที่ที่พืชอาหารสัตว์ทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนให้แก่เกษตรกร และสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ - ปศุสัตว์จังหวัดประสานงานกับผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ไขในจังหวัด เพื่อขอสนับสนุนไข่ไก่ นำไปมอบให้ประชาชนในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมไร้ที่อยู่อาศัย และขาดอาหาร - มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงสัตว์(สุนัขและแมว) เพื่อให้เจ้าของที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมาฝากไว้ให้ปศุสัตว์ดูแล โดยจัดศูนย์พักพิงขึ้นที่ อำเภอบางปะกง ในพื้นที่ของด่านกักสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมศูนย์พักพิงสัตว์ดังกล่าวด้วย


ที่มา,แหล่งอ้างอิงข้อมูล -http://www.chachoengsao.go.th/sotorn/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=108 -นายวิโรจน์ ประยูรวิวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา -นายสมพงษ์ ผิวสวยคำ เจ้าพนักงานสัตวบาล สังกัดสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา -นางเดือนเพ็ญ ธัญญะวานิช นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สังกัดสำนักงานปศุสัตว์เขต 2 -นายประทวน สมญาประเสริญ สังกัดสำนักงานปศุสัตว์เขต 2 (บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ เมื่อปี พ.ศ.2521 ปัจจุบันยังปฎิบัติงานอยู่ ณ สำนักงานปศุสัตว์เขต2) -https://maps.google.co.th/